รีวิว TENET

รีวิวหนัง TENET หนังใหม่ แอ็คชั่น ไซไฟ ชั้นเลิศ ในปีนี้ ที่เล่นกับทฤษฏีย้อนเวลา ผสมความเป็นหนังสายลับแบบเท่ๆ และ ไซไฟ อิงวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน และเข้ากันได้อย่างชัดเจน จนชวนให้ใครต่อใครมึนงง ด้านผู้กำกับอย่างคริสโตเฟอร์ โนแลน แนะนำว่า “อย่าพยายามเข้าใจ จงใช้ความรู้สึก” ในการเสพภาพยนตร์เรื่องนี้
รีวิว TENET
TENET เป็นหนังอีกเรื่องของโนแลนที่เกี่ยวข้องกับเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่โนแลนด์มักหยิบยกมาใช้เป็นองค์ประกอบในงานของเขา ตั้งแต่หนังแจ้งเกิดอย่าง Memento จนถึงผลงานล่าสุดอย่าง Dunkirk ผสมผสานกับความชื่นชอบและหลงใหลในหนังสายลับจารชน James Bond 007 ของตัวโนแลน และบ่มเพาะพัฒนาบทนานกว่าเกือบ 1 ทศวรรษ จนกลายเป็น TENET ที่พาผู้ชมไปตื่นตากับ หนังสายลับแอ็คชั่นที่มีกลิ่นอาย James Bond ควบคู่ไปการท้าทายทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการย้อนเวลา
ทางด้านเนื้อเรื่องก็ต้องบอกว่า เรื่องราวของ TENET  ด้วยความเป็นลูกผสมของหนังสายลับและไซไฟ ในส่วนพาร์ทสายลับต้องบอกว่ามันก็คือหนังสายลับที่มีเรื่องราวไม่ได้ต่างจากเดิมเสียเท่าไหร่ แต่โนแลนใช้รูปแบบการนำเสนอในแบบเฉพาะของตัวเอง และ ความไซไฟอิงวิทยาศาสตร์มาสร้างความแตกต่างให้กับในส่วนนี้ ซึ่งก็ด้วยความไซไฟ-วิทยาศาสตร์นี่แหละ เลยอาจจะมีบางช่วง ทำเอาคนดูงงไปเสียบ้าง เพราะหนังจะพ่นคำศัพท์วิทยาศาสตร์ที่ชวนเข้าใจยากสักหน่อยออกมาเป็นระยะๆ
รีวิว TENET
โนแลนเองต้องการก็ให้ความสมจริง ถึงกับไปขอคำปรึกษาจากศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์เพื่อให้บทพูดและเนื้อเรื่องออกมาสมจริง แต่โนแลนจะบอกใบ้ผ่านประโยคปรากฏในตัวอย่าง “Don’t try to understand it. Feel it” (อย่าพยายามทำความเข้าใจมัน ใช้ความรู้สึกซะ) เพราะบางทีถ้าคุณมัวแต่คิดจะทำความเข้าใจทฤษฏีบางข้อ คุณก็อาจจะตกรถพลาดเนื้อหาสำคัญอื่นๆ ของเรื่องไปจนหมดก็เป็นได้
สำหรับงานภาพที่โนแลนก็ยังคงเลือกใช้การถ่ายทำทั้งหมดผ่านกล้องฟิล์ม  IMAX 70mm ,Panavison 70mm ที่เขาไว้ใจ มีการใช้เทคนิคการถ่ายทำแบบย้อนกลับที่สร้างความฮือฮามาแล้วใน Memento รับประกันงานภาพขั้นเทพโดยฝีมือ โฮยเตอ ฟัน โฮยเตอมา ผู้กำกับภาพผู้ผ่านการทำหนังไซไฟร่วมกับโนแลนมาแล้วใน  Interstellar และ หนังสายลับอย่าง 007 Spectre

รีวิว TENET

รีวิว TENET

จอห์น เดวิด วอชิงตัน รับบทสายลับตัวเอกใน “Tenet
นอกจากยังคงไว้ลายถ่ายด้วยกล้องฟิล์มแล้ว โนแลนก็เป็นอีกหนึ่งผู้กำกับที่ พยายามจะถ่ายทำแบบใช้  CG ให้น้อยที่สุดเพื่อสร้างความสมจริง ไม่ว่าจะเป็นฉากแอ็คชั่นที่ยิ่งใหญ่อย่างฉากทำลายเครื่องบินโบอิ้งที่โผล่ออกมาในตัวอย่างซึ่งมันทำออกมาได้อลังการงานสร้างมากๆ ไม่นับรวมฉากต่อสู้ ที่ผ่านการดีไซน์ออกมาได้น่าสนใจ โดยเฉพาะฉากต่อสู้แบบย้อนกลับที่เป็นจุดขายพอได้ดูจริงๆ ก็ต้องร้องว้าวออกมา เพราะเป็นที่แปลกใหม่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน น่าจะกล่าวได้เลยว่านี่เป็นหนังของโนแลนที่มีฉากต่อสู้ที่ดุเดือด และน่าจดจำที่สุดก็ว่าได้
ทางด้านงานดนตรี แม้ว่าโนแลนจะเสียฮานส์ ซิมเมอร์ นักประพันธ์คู่บุญไปให้กับ Dune ของเดนิส วิลล์เนิฟ แต่ก็ได้ ลุดวิก โยรันส์สัน นักประพันธ์ไฟแรงเจ้าของรางวัลออสการ์ จาก The Black Panther มาทำดนตรีประกอบให้ ซึ่งลุดวิก ก็สามารถรังสรรค์ดนตรีประกอบที่เร่งเร้าอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยมตั้งฉากเปิดเรื่องไปจนถึงฉากสุดท้าย
ข้อติคือดูเหมือนโนแลนอาจจะลงแรงในการนำเสนอด้าน Visual และการถ่ายทำไปมากเกินสักนิด  ทำให้ตัวละครซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของโนแลนอาจจะมีตกหล่นในด้านมิติการจับต้องได้ไปบ้าง โชคยังดีที่ได้การแสดงอันมีสเน่ห์ของเหล่านักแสดงนำที่สามารถดึงศักยภาพออกมาได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น “ตัวเอก” อย่าง จอห์น เดวิด วอชิงตัน ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของเด็นเซล วอชิงตัน หลังจากที่ได้รับเสียงชื่นชมจากหนังอินดี้อย่าง The Black มาคราวนี้เขาได้รับบทนำและแสดงออกมาได้น่าจดจำ

ความรู้สึกส่วนตัว

 

โรเบิร์ต แพทตินสัน ในบทคู่หูสายลับสุดกวน
รวมไปถึงเคมีที่ลงตัวกับ โรเบิร์ต แพทตินสัน ในบทคู่หูสุดกวนที่มีสเน่ห์แพรวพราว อลิซาเบธ เดบิคกี้ ในบทบาทที่สุดแสนดราม่าและน่าเห็นใจ บทตัวร้ายชาวรัสเซียที่โหดเหี้ยม ทารุณ และแย่งซีนเป็นช่วงๆ ของ เคนเน็ธ บรานาห์ (ที่เป็นคนอังกฤษ) รวมไปถึงพลังของเหล่านักแสดงสมทบอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น แอรอน เทเลอร์ จอห์นสัน ในบทบาทนายทหารสุดล่ำจนตอนดูอาจจะมีสงสัยว่านี่ใช่พ่อ ควิกซิวเวอร์ จริงๆ เหรอ และ การปรากฏตัวเพียงไม่กี่วินาทีแต่สร้างอิมแพคสำคัญของหนังแสดงคู่ขวัญของโนแลนอย่าง คุณปู่ ไมเคิล เคน
แม้ TENET อาจจะเป็นหนังต้องใช้สมาธิในการรับชม ไม่เป็นมิตรกับคนดูเสียเท่าไหร่ และมีจุดบกพร่องให้ตำหนิอยู่บ้าง แต่ TENET คือหนังแอ็คชั่น ไซไฟชั้นเลิศ ที่ยอมรับว่ามันสนุกเร้าใจ สร้างอรรถรสให้กับผู้ชมตั้งแต่ต้นจนจบ เป็น James Bond ในแบบฉบับของโนแลน ที่ให้ประสบการณ์ควรค่าแก่การได้รับชมสักครั้งในโรงภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบทั่วไป หรือระบบ IMAX 70mm ที่หนังถูกสร้างเพื่อฉายให้เหมาะกับการฉายในระบบนี้โดยเฉพาะ
จุดเริ่มต้นความเหวอ ในฉากหนึ่งที่เรื่องราวเริ่มเฉลยเงื่อนไขของเวลา
ปกติโนแลนจะให้เวลาฟูมฟักหนังแต่ละเรื่องของเขาให้มีช่องว่างระหว่างการฉายแต่ละเรื่องอยู่ราว ๆ 2 ปี แต่กับ Tenet น่าจะเป็นโพรเจ็กต์ที่เล่นใหญ่เอาการของโนแลน เพราะเรื่องนี้เว้นจากเรื่องก่อนหน้าอย่าง Dunkirk อยู่ถึง 3 ปี ซึ่งไม่แน่ใจว่าเวลาที่มากขึ้นจะทำให้บทหนังของเขาคมขึ้น หรือเกินพอดีไปหลายโยชน์กันแน่ เพราะสิ่งหนึ่งที่เราสัมผัสได้แทบจะตรงกันคือ มึนงง
มึนงงในที่นี้ต้องบอกว่าไม่ใช่ว่าไม่เข้าใจหนังเลย เราอาจเข้าใจเรื่องราวหลัก ๆ ได้แทบทั้งหมดว่าใครเป็นใคร อยู่ฝ่ายไหน เส้นเรื่องหลักตัวละครเหล่านี้มีเป้าหมายอะไร หรือตลอดจนจุดหักมุมที่ก็ไม่ได้ใหม่จนเดาไม่ออก หลายจุดเชยในพลอตแบบหนังลูปเวลาที่เดาได้ง่ายตั้งแต่ต้นเสียด้วยซ้ำ
เคนเน็ธ บรานาห์ กับบทตัวร้ายที่ดุดันแต่ขาดเวลาในการสร้างการจดจำที่มากพอ ขณะที่อลิซาเบ็ธ เดบิกกี ก็เป็นดอกไม้หนึ่งเดียวกลางดงหนุ่ม ๆ ที่ช่วยให้หนังสดชื่นขึ้นเยอะ
สิ่งที่เราไม่เข้าใจกลับเป็นการร้อยต่อของฉากเหตุการณ์เสียมากกว่าที่เดินหน้าถอยหลัง/ถอยหลังเดินหน้าไปมาอยู่แทบตลอด การปล่อยศัพท์แสงที่ไม่น่าเข้าใจง่าย ๆ ทั้งศัพท์ฟิสิกส์หรือชื่อเฉพาะในเรื่องที่อยู่ ๆ ก็โพล่งขึ้นมาแล้วก็ไม่อธิบายอะไรมาก หรือบางฉากตัวละครก็อยู่ในชุดคลุมใบหน้าจนเราแยกไม่ออกว่าดูใครอยู่กันแน่ ในแง่ความเข้าใจต่อเนื้อเรื่องบางครั้งตัวละครเองก็เข้าใจทุกอย่างดี (ด้วยว่าเขาผ่านเหตุการณ์ในอนาคตมาแล้ว เพียงผู้ชมอย่างเรานี่ล่ะที่ยังดูไม่ถึงเอง) แต่ส่วนใหญ่ตัวละครหลักของ จอห์น เดวิด วอชิงตัน ก็พยายามแทนสายตาผู้ชมให้เป็นเพื่อนงงกับสิ่งที่เผชิญ ถึงบางครั้งเราจะรู้สึกเหมือนถูกตัวละครทอดทิ้งเป็นพัก ๆ เช่นกัน (เพราะเมื่อเขาเข้าใจบางอย่างขึ้นมา เขาก็ไม่ได้อธิบายอะไรกับผู้ชมอย่างเรา)
ถ้าหนังทั้งเรื่องทำให้เรารู้สึกเหมือน นีโอ กำลังสนทนากับ สถาปนิกใน The Matrix คู่นี้ก็คือ นีโอ สนทนากับ เทพพยากรณ์ นั่นล่ะ
จึงเป็นทั้งจุดแข็งที่เรื่องขับด้วยปริศนาที่เราต้องให้สมาธิในการเก็บข้อมูลตลอดเวลา สนใจภาพตรงหน้าตลอดเวลา และกลายเป็นจุดอ่อนว่าเราแทบไม่อินหรือใส่ใจความเป็นไปของตัวละครใดนัก เพราะตัวละครก็ไม่ได้ใส่ใจคนดูเหมือนกัน ยังไม่นับว่าจังหวะการผ่อนอารมณ์ที่น้อยไปหน่อย ความลื่นไหลในการเล่าสร้างความเข้าใจนั้นก็เข้าขั้นขรุขระ กระโดดสายตาอยู่หลายครั้ง หลายฉากเห็นความพยายามดันทุรังไปต่อไม่รอแล้วนะของผู้กำกับ จนเราก็รู้สึกช่างมันละกันกับไอ้ฉากนี้ ๆ ไม่เข้าใจก็ได้ (ฟระ)
นีล หนึ่งในตัวละครที่เหมือนรู้ทุกอย่าง แถมผลุบโผล่จนเราไม่ค่อยสนใจ
แต่เทคนิคเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นความจงใจที่โนแลนใช้เป็นเสน่ห์ให้กับหนังพลอตเชย ๆ เกี่ยวกับสายลับเรื่องนี้ให้พิศดารขึ้นมาก (จะว่าแกโกงการเล่าเรื่องของตัวเองก็ได้) เช่นเดียวกับที่ตัวละครเน้นย้ำแก่กันเสมอว่า ความไม่รู้คืออาวุธ และ สิ่งที่สำคัญที่จะเข้าใจหนังทั้งหมดอยู่ที่คำถามว่า อย่างไร มากกว่าคำถามอื่น โนแลนก็อาศัยข้อมูลที่ผู้ชมมีน้อยมาก ๆ แถมยังอาศัยการลักไก่ด้วยจังหวะการเล่าที่รวดเร็ว ชวนสับสน แทบไม่หยุดให้หัวผู้ชมโล่ง ๆ ได้หยุดคิดเลย กลายเป็นว่าหนังเรื่องนี้ดูยากขึ้นทันที ทั้งที่จริงเรารู้สึกตะหงิดลึก ๆ ว่าถ้ามีเวลากดรีโมตกลับไปดูฉากนี้ซ้ำ กดหยุดพิเคราะห์ภาพตรงหน้า เราอาจกระจ่างมากกว่านี้ก็ได้ ซึ่งว่ากันแฟร์ ๆ มันก็คือกลยุทธ์ดึงคนให้ดูซ้ำในโรงหนังนั่นล่ะ
เมื่อเทพโนแลนแอบโกงให้หนังมีของด้วยท่ายากเกินจำเป็น
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าหนังเรื่องนี้จะสำแดงอิทธิฤทธิ์ได้ดีที่สุดในโรงเท่านั้น ไม่ใช่เพียงเพราะภาพจากกล้องไอแม็กซ์สุดอลังการฝีมือของ โฮยเต ฟาน โฮยเตมา หรือสกอร์เสียงติดหูของ ลุดวิก เยอรันส์ซอน หรือจากทีมเบื้องหลังส่วนอื่น ๆ ที่ล้วนระดับโปรทั้งนั้น เพราะเสน่ห์ที่ว่ามาของพลอตหนังสุดเวอร์นี้ ลองกลายไปเป็นหนังออนดีมานด์ที่อำนาจควบคุมการเล่าเรื่องอยู่ในมือคนดูแล้วล่ะก็ หนังเทพก็จะเข้าขั้นพังพินาศกลายเป็นหนังพยายามทำตัวงงเกินจำเป็นไปได้เช่นกัน
ฉากใหญ่ ๆ เราเห็นในตัวอย่างแทบหมด จนไม่เหลืออะไรตื่นตา อาจเป็นข้อเสียของการที่หนังเลื่อนฉายมานาน
บางทีบทหนังเรื่องนี้อาจไม่มีอะไรมากเลยก็ได้นะ ถ้าเอาองค์ประกอบที่จงใจทำให้คนงง (จนเกินงาม) ออกไป ในขณะที่ด้านโพรดักชันเองแม้นจะเป็นหนังที่ลงทุนสูงมาก ๆ ติดอันดับของโนแลน แต่เราก็ไม่ได้ประทับใจมากเท่าทุนที่หนังลงไปเลย หลายฉากในหนังเรื่องเก่า ๆ ของแกยังมีพลังมากกว่านี้เสียอีก อย่างไรก็ดีก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ไอ้นวัตกรรมการเล่าเรื่องในหนังนี้ ถ้าไม่ใช่โนแลน เราคงไม่มีวันได้ดูล่ะ
ดูหนังใหม่ได้ที่ ดูหนังใหม่
ติดตามรีวิวอื่นๆได้ที่ facebook 
ดูหนังชัด4Kได้ที่ ดูหนังชัด4K

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *