รีวิว Green Book
Green book กรีนบุ๊ค หนังเจ้าของรางวัลออสการ์ 3 รางวัลในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม , สมทบชายยอดเยี่ยม และ บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ประจำออสการ์ปี 2018 และ 3 รางวัล ลูกโลกทองคำ ในสาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม , ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในประเภทเพลงหรือตลก ดูหนัง
เนื้อเรื่อง รีวิว Green Book
Green book กรีนบุ๊ค หนังที่อ้างอิงมาจากเรื่องจริงของนักดนตรีผิวสีอย่าง ดอน เชอร์ลีย์ กับคนขับรถของเขาชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาเลียนอย่าง โทนี ลิป ที่ย้อนกลับไปในปี 1930-1960 ที่คนผิวสีในอเมริกานั้นต้องพกหนังสือที่ชื่อว่า “The Negro Motorist Green Book” หรือเรียกสั้นๆว่า “Green Book” ที่เป็นเหมือนหนังสือไกด์แนะนำร้านอาหาร โรงแรม หรือสถานที่ที่ต้อนรับคนผิวสีในขณะนั้น เพราะในช่วงเวลานั้นมีการเหยียดผิวที่รุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็มีในการเดินทางไปทั่วอเมริกาเพื่อทำการแสดง แต่ในยุคนั้นมีการเหยียดผิวที่รุนแรงเกือบทั่วอเมริกา
เรื่องย่อ รีวิว Green Book
หนังเรื่องนี้กำกับโดยปีเตอร์ ฟาร์เรลลี จากหนังตลกอย่าง Dumb and Dumber (1994) และนำแสดงโดยนักแสดงอย่าง วิกโก้ มอร์เทนเซน ผู้เข้าชิงสองรางวัลออสการ์จาก Eastern Promises, Captain Fantastic ร่วมด้วย มาเฮอร์ชาลา อาลี เจ้าของรางวัลออสการ์จาก Moonlight ดูหนังออนไลน์
Green book กรีนบุ๊ค จะเล่าถึงเรื่องราวของ สองคู่หูต่างขั้วที่จับผลัดจับผลูตระเวนเดินทางไปทั่วตอนใต้ของอเมริกาด้วยกัน “โทนี่ ลิป” (วิกโก้ มอร์เทนเซน) พี่ล่าขาใหญ่เชื้อสายอิตาเลียน-อเมริกันจากย่านบรองซ์ในนิวยอร์ก ต้องมาเป็นคนขับรถให้ “ดอน เชอร์ลีย์” (มาเฮอร์ชาลา อาลี) นักเปียโนคลาสสิคผิวสีระดับโลก ระหว่างที่เขาออกเดินสายขึ้นแสดงในยุค 60 สิ่งเดียวที่นำทางทั้งคู่คือ “สมุดปกเขียว” ที่บอกสถานที่ที่เป็นมิตรกับคนผิวสี พวกเขาต้องฝ่าทั้งกำแพงแห่งสีผิว ภัยอันตรายต่าง ๆ เช่นเดียวกับน้ำใจจากเพื่อนมนุษย์ในการเดินทางครั้งสำคัญนี้
Green book กรีนบุ๊ค ต้องบอกเลยว่าเป็นหนึ่งในหนังที่คุณไม่ควรพลาด บวกกับการที่หนังหยิบเอาเรื่องจริงมาเล่ายิ่งทำให้มีความน่าสนใจขึ้นไปอีก การเล่าเรื่องของหนังส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่มิตรภาพระหว่างคนสองคนที่ต่างสีผิวกัน ที่ทั้งเรื่องเราจะได้เห็นทั้งคู่ต่อบทกันอย่างเมามันและแฝงไปด้วยความตลก ที่คนดูไม่น่าเบื่อแน่นอน
แต่สิ่งสำคัญของหนังคงต้องยกให้เป็นการเหยียดผิวครับซึ่งมันทำให้คนดูอย่างเรานั้นรู้สึกเจ็บปวดทุกครั้ง ยิ่งในฉากที่ ดร.ดอน เชอร์ลีย์พูดว่า “คนขาวก็มองผมเป็นแค่ไอ้มืดคนหนึ่ง ส่วนคนผิวสีคนอื่นก็ไม่ยอมรับผม เพราะผมมันแตกต่าง” ยิ่งทำให้เราเข้าใจถึงความรู้สึกโดดเดี่ยวของตัวละครมากขึ้นไปอีก บอกเลยว่าหนังที่ทำคนดูอินตามได้ตลอดทั้งเรื่องเลยล่ะ
ส่วนการแสดงของนักแสดงนั้นบอกเลยว่าสุดยอดทั้งคู่ครับสมกับรางวัลที่ได้มาจริงๆ ชอบความน่ารักของทั้งคู่มาก ที่ดูแล้วต้องยิ้มออกมาตลอดในตอนที่ทั้งคู่นั้นเถียงกันภายในเรื่อง ชอบที่หนังสื่อความหมายถึงคำว่ามิตรภาพได้อย่างสมบูรณ์แบบมากๆครับ ทำแอดหัวตาคลอไปเลย ส่วนช่วงกลางถึงท้ายเรื่องบอกเลยว่าเป็นหนังที่ให้อารมณ์ฟิลกู๊ดมากๆเลยครับ ที่แบบดูจบแล้วยิ้มไม่หุบกันเลยทีเดียว กับหนังเรื่องนี้ Green book กรีนบุ๊ค
เพื่อเป็นข้อมูล ที่มาของชื่อหนังหรือสมุดปกเขียวก็คือไกด์บุ๊กการเดินทางด้วยรถยนต์สำหรับคนอเมริกันผิวสีในช่วงเวลาที่ ‘การแบ่งแยก’ ยังเป็นเรื่องถูกต้องชอบธรรม จุดประสงค์ของคู่มือติดรถยนต์เล่มนี้ซึ่งเขียนโดย วิกเตอร์ เฮช. กรีน เจ้าหน้าที่ส่งพัสดุผิวสีจากเมืองนิวยอร์ก ก็เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากและเรื่องน่าอับอายขายหน้าอันอาจจะเกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องเชื้อชาติ และ สีผิว และ เนื้อหาภายในได้แก่การแนะนำที่พัก ร้านอาหาร และ ปั๊มน้ำมันที่ต้อนรับคนผิวสี
ลำพังการมีอยู่ของไกด์บุ๊กเล่มนี้ก็ฟ้องถึงสภาวะที่คับแคบของผู้คนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ การที่หนังสือได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจนถึงกับต้องตีพิมพ์เพื่ออัปเดตข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกปีก็ยิ่งฟ้องว่านอกจากนี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ สถานการณ์ก็เป็นอย่างที่รู้ๆ กันว่ามันสาหัสสากรรจ์ รีวิวหนัง
ว่ากันตามจริง บทบาทของสมุดปกเขียวตามท้องเรื่องของหนังเรื่อง Green Book ก็ไม่ได้โดดเด่นเท่าใดนัก มันถูกใช้เป็นเพียงแค่หลักฐานที่ช่วยยืนยันในสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยู่แล้วทั้งกับตัวละคร และ ผู้ชม นั่นคือบรรยากาศการเหยียดผิวในอเมริกา และ เรื่องราวของหนังที่ข้อมูลระบุว่า ‘ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริง’ ก็พาผู้ชมไปสำรวจแง่มุมดังกล่าว ซึ่งพูดแบบไม่อ้อมค้อม
ไม่มีอะไรผิดเพี้ยนไปจากเส้นทางที่หนังเรื่องก่อนๆ เหยียบย่ำมานับไม่ถ้วน แต่ในความไม่มีอะไรแปลกใหม่ของสิ่งที่บอกเล่า คนทำหนังก็โชว์ให้เห็นการพลิกแพลงในหลายแง่มุมที่น่าสนใจ และ ทำให้ความเป็นหนังที่คาดเดาได้ และ ค่อนข้างจำเจซ้ำซาก ไม่ใช่ข้อบกพร่องหรือความอ่อนด้อยสักเท่าใด
อย่างที่รู้กัน คุณสมบัติประการหนึ่งของหนังคู่หูหรือหนังบัดดี้ได้แก่ตัวละครสองคนที่ผิดแผกแตกต่างกันอย่างชนิดไม่อาจหลอมรวม ทว่าถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องมาเกี่ยวข้องเชื่อมโยง ในกรณีของ Green Book หนึ่งในสองได้แก่ แอนโทนี วัลเลอลองกา หรือโทนี่ ลิป (วิกโก มอร์เทนเซน ในบทบาทการแสดงที่จะทำให้ภาพของ อารากอน นักรบเจ้าเสน่ห์จากหนังชุด
The Lord of the Rings กลายเป็น ‘ผลงานแต่ชาติปางก่อน’ โดยปริยาย) หนุ่มใหญ่อิตาเลียน-อเมริกันผู้ซึ่งแนะนำตัวเองว่าทำงานด้านประชาสัมพันธ์ แต่สิ่งที่เราได้เห็นจริงๆ ก็คือบอดี้การ์ดประจำไนต์คลับของเมืองนิวยอร์ก และ งานหลักคือการจับลูกค้าที่เมาอาละวาดโยนออกนอกร้านอีกรายละเอียดหนึ่งที่หนังบอกเกี่ยวกับโทนี่ซึ่งออกจะดูเจตนาไปสักนิด แต่ก็ช่วยให้ผู้ชม
ตระหนักถึง ‘ค่าเริ่มต้น’ ของตัวละครที่แจ่มชัดได้แก่ฉากที่เขาแอบโยนแก้วน้ำที่ช่างประปา 2 คนดื่มไว้ทิ้งลงถังขยะด้วยความรังเกียจ ซึ่งโดยอัตโนมัติ เหตุการณ์เล็กๆ นี้ก็ช่วยสนับสนุนประโยคที่น่าสนใจของ ดอน เชอร์ลีย์ (มาเฮอร์ชาลา อาลี) นักเปียโนผิวสี ผู้ซึ่งในอีกไม่นานนักโทนี่ในฐานะโชเฟอร์จะต้องขับรถพาเขาตะลอนไปเล่นคอนเสิร์ตในแดนไกลเป็นเวลานาน 2 เดือน ทำนองว่าเขาไม่จำเป็นต้องกังวลถึงการเดินทางไปรัฐทางตอนใต้ที่ขึ้นชื่อเรื่องเหยียดผิว เพราะการเหยียดผิวดำรงอยู่ทุกหนทุกแห่งอยู่แล้ว
กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างอย่างชนิดฟ้ากับเหวระหว่างโทนี่กับดอน เอาเข้าจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องสีผิว แต่เป็นเรื่องของรากเหง้าและ กำพืด โทนี่มาจากโลกที่ไม่ได้แตกต่างไปจากหนังเรื่อง Mean Streets หรือ Goodfellas ของมาร์ติน สกอร์เซซี ที่ดูเอะอะมะเทิ่ง ปราศจากทั้งความละเอียด อ่อนไหว ตลอดจนการขัดเกลาทั้งด้านการศึกษาและ รสนิยม เขาพูดในสิ่งที่ตัวเองคิดโดยไม่
แคร์ว่ามันจะดูโง่หรือฉลาดอย่างไร และ นั่นตรงกันข้ามกับดอนผู้ซึ่งจบด็อกเตอร์ด้านดนตรี และ ความสามารถในฐานะนักเปียโนของเขาได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญว่าอัจฉริยะ เขาแสดงออกอย่างห่างเหิน รัดกุม สำรวม และ ถือเนื้อถือตัว ข้อสำคัญ ไม่ปิดบังความเหนือกว่าทั้งฐานะ ชนชั้น และ ระดับสติปัญญา อันที่จริงในตอนที่เราได้เห็นตัวละครนี้ เขาแต่งเนื้อแต่งตัวราวกับเป็นเจ้าผู้ครองนคร นั่งอยู่บนเก้าอี้ที่อาจเรียกได้ว่าบัลลังก์ และ พูดกับโทนี่เหมือนเขาเป็นข้าทาสบริวาร
ไม่มากไม่น้อย นั่นนำไปสู่สถานการณ์ที่กลับตาลปัตร และ ย้อนแย้ง คนขาวขับรถให้คนดำนั่งในช่วงเวลา (ค.ศ. 1962) และ สถานที่ (มลรัฐทางตอนใต้ของอเมริกา) ที่การเหยียดผิวยังเป็นอุณหภูมิปกติ หรืออย่างน้อยก็เป็นอะไรที่แสดงออกได้ตรงๆ ไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน อ้อมค้อม หรือมีลักษณะซุ่มโจมตีอย่างในปัจจุบัน
และ ว่าไปแล้ว ขณะที่ข้อมูลที่หนังถ่ายทอดไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับคนดูที่รู้ข้อเท็จจริงอยู่แล้วถึงระดับความน่าสะอิดสะเอียนของพฤติกรรมเหยียดผิวในอเมริกา แต่จนแล้วจนรอดก็ยังคงเป็นเรื่องน่าขัดเคืองอยู่ดี และ บางครั้งก็นึกไม่ออกจริงๆ ว่าผู้คนที่มีสติสัมปชัญญะ และ สามัญสำนึกตอนนั้นปล่อยให้เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เช่น การที่คนผิวสีไม่ได้
รับอนุญาตให้ไปไหนมาไหนหลังพระอาทิตย์ตกดิน หรือนั่งในร้านอาหารของคนขาวทั้งๆ ที่เขาเป็นแขกคนสำคัญ หรือฉากหนึ่งที่น่าเชื่อว่าคนทำหนังไม่ได้แสดงออกอย่างเกินเลย นั่นคือเหตุการณ์หลังจากดอนเพิ่งจะเล่นคอนเสิร์ตจบ และได้รับเสียงปรบมือกึกก้อง แต่เขากลับไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องน้ำซึ่งจำกัดเอาไว้เฉพาะคนขาว และ ภาพห้องน้ำของคนผิวสีที่เจ้าของบ้านผายมือให้เห็นก็ย่ำยีความรู้สึกของทั้งตัวละคร และ คนดูอย่างไม่น่าให้อภัย