รีวิว Margin Call
รีวิวหนังฮิต เป็นภาพยนตร์ระทึก ขวัญทางการเงิน และ ของอเมริกาปี 2011 นั้นเอง ซึ่ง เขียนบท และ กำกับโดย JC Chandor ในการกำกับ หนังเรื่องแรกของเขา เรื่องหลักที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่นานเพียง ช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมง ในที่มีขนาดใหญ่ Wall Street
ธนาคารเพื่อการลงทุนในช่วงระยะเริ่มต้นของวิกฤติการเงิน 2007-2008 ประเด็นสำคัญคือการดำเนินการของกลุ่มพนักงานระหว่างการล่มสลายทางการเงินที่ตามมา ภาพยนตร์เรื่องนี้นำแสดงโดยนักแสดงทั้งมวลประกอบด้วย Kevin Spacey , Paul Bettany , Jeremy Irons , Zachary Quinto , Penn Badgley ,ไซมอนเบเกอร์ , แมรี่ McDonnell , เดมี่มัวร์และสแตนลี่ย์ทุคชี่
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดยบริษัทผู้ผลิตBefore the Door Pictures (เซ็นสัญญาครั้งแรก และเป็นเจ้าของโดยZachary Quinto ), Benaroya Pictures และ Washington Square Films ท่าทางมันก็กระจายในเชิงพาณิชย์โดยไลออนส์เกตและแหล่งท่องเที่ยวริมถนน Margin Callสำรวจทุนนิยม ความโลภ และการฉ้อโกงการลงทุน ผู้กำกับและผู้เขียนบท เจซี แชนเดอร์ เป็นบุตรชายของวาณิชธนกิจ บทภาพยนตร์ได้รับแจ้งบางส่วนจากการจู่โจมของ Chandor ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในนิวยอร์กซิตี้ไม่นานก่อน
เกิดความผิดพลาดทางการเงิน หลังจากที่ปล่อยกว้างในโรงภาพยนตร์รวบรวมเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจากนักวิจารณ์ดีทรอยต์ฟิล์มสังคมพร้อมกับเสนอชื่อเข้าชิงหลายแยกบทภาพยนตร์และทิศทางของมันมาจากองค์กรที่ได้รับรางวัลได้รับการยอมรับรวมทั้งการแต่งตั้งให้เป็นรางวัลออสการ์สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิม ยอดเยี่ยม ดนตรีประกอบโดยนักดนตรี Nathan Larson
รีวิว Margin Call
ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายรอบปฐมทัศน์ที่งานSundance Film Festivalเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2011 และเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2011 รายได้รวม 5,354,039 ดอลลาร์จากการรับตั๋วในประเทศ ฉายในโรงภาพยนตร์ 199 โรง ระหว่างฉายในโรงภาพยนตร์กว้างที่สุด มันทำรายได้เพิ่มอีก 14,150,000 ดอลลาร์ในธุรกิจจากการเปิดตัวในต่างประเทศเพื่อทำรายได้รวม 19,504,039 ดอลลาร์ในการแสดงละคร เป็นการเปิดตัวครั้งสำคัญวันและวันที่ซึ่งทำรายได้มากกว่า $10,000,000 ในการขายวิดีโอออนดีมานด์ระหว่างการเปิดตัวละครครั้งแรก ก่อนการเปิดตัวในโรงภาพยนตร์Margin Callได้รับการวิจารณ์ในแง่บวก ภาพยนตร์ฉบับดีวีดีและบลูเรย์วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554
เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นและตลาดเงิน อาจจะมีความเข้าใจได้ยากบ้างในบางช่วงบางตอนของภาพยนตร์ แต่หนังมีการถ่ายทอดออกมาให้เข้าใจได้ไม่ยากนัก ดูคล้าย ๆ เป็นสังคมที่เรียกได้ว่าปลาใหญ่ย่อมต้องกินปลาเล็กเสมอ เป็นสังคมของการฉวยโอกาส มือใครยาวคว้าได้คว้าเอา หนังสื่อให้เห็นว่าโลกธุรกิจมันโหดร้าย ผู้นำหลายคนเลือกที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้บริษัทของตัวเองเดินหน้าและไปรอดแม้ว่าการตัดสินใจบางอย่างมันจะทำให้ลำบากใจและขัดแย้งกับความมีศีลธรรม
หนังมีการเล่าเรื่องอย่างดี ไม่มีความน่าเบื่อ หนังเผยลูกล่อลูกชนให้คนดูได้เห็นถึงโลกธุรกิจที่โหดร้าย โลกที่การเห็นแก่ตัวนั้นเป็นเรื่องธรรมดา คนดูจะเข้าใจเรื่องราวได้อย่างอัตโนมัติ เมื่อนักแสดงทุกคนคือนักธุรกิจ และนักธุรกิจก็สามารถทำอะไรก็ได้ที่ทำให้ธุรกิจของตนเองเดินหน้าต่อไปได้ จะเรียกว่าเห็นแก่ตัวมันก็อาจจะดูรุนแรงไป เพราะบางครั้งสถานการณ์ที่คนเราต้องเจอก็อาจจะบีบให้ต้องเลือกปฏิบัติอย่างเลือกไม่ได้ หนังเผยการเสียดสีเรื่องราวของสังคมอย่างเห็นเป็นรูปธรรม เมื่อทุกคนอยู่ในโลกที่เงินมีความสำคัญมากที่สุด ใครที่อ่อนแอก็อยู่ไม่ได้เป็นเรื่องธรรมดา
ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้
1. คนที่อยู่ในโลกปลาใหญ่กินปลาเล็ก เป็นธรรมดาที่คนอ่อนแอก็ต้องแพ้ให้กับคนที่แข็งแกร่งกว่า เพราะในโลกธุรกิจทุกอย่างเป็นเงินเป็นทอง ถ้าไม่พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นและดีขึ้น โอกาสที่จะก้าวหน้าและประสบความสำเร็จก็ค่อนข้างยาก
2. บางครั้งสิ่งที่เห็นก็ไม่เป็นอย่างที่เห็น บริษัทที่เป็นตัวเดินเรื่องหลักในหนังที่ดูเหมือนว่าจะเติบโตและแข็งแกร่งดี แต่กลับมีข้อมูลบางอย่างที่ถูกปิดไว้เพื่อไม่ให้บริษัทเสียหาย แต่ถ้าข้อมูลเหล่านี้หลุดออกไปข้างนอกอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัทและทำให้เกิดความเสียหายบานปลายจนเกินกว่าจะรับมือได้
เป็นภาพยนตร์ที่เน้นการชิงไหวชิงพริบ เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเราก็ต้องพัฒนาตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้น เพราะในโลกของเงินไม่มีที่สำหรับความอ่อนแอ
ข้อคิดที่ได้จากหนัง
คำถามคือสินทรัพย์อะไรที่ครอบครองอยู่ และความเสี่ยงมีมากขนาดไหน?
พอร์ตของธนาคารกู้เงินเพื่อซื้อสินเชื่อที่มีอสังหาฯเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งปล่อยกู้ให้ผู้ที่มีเครดิตต่ำแล้วนำมาเรียงแพ็คใส่ห่อใหม่ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินชื่อว่า Mortgage-Backed Securities (MBS)
ความเสี่ยงอยู่ตรงที่การทำออกมาเป็น MBS นั้นใช้เวลา ดังนั้นพอร์ตจึงถือสินเชื่อคุณภาพต่ำเป็นเวลานานเกินไป ซึ่งโมเดลได้บอกว่าความผันผวนของพอร์ตได้มากกว่าระดับที่เคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว หากมูลค่าของสินทรัพย์ลดลงเพียง 25% ผลขาดทุนจะสูงกว่ามูลค่าของบริษัท ส่งผลให้ล้มละลาย
จากนั้นคืนอันแสนโหดร้ายได้เริ่มขึ้น การเรียกประชุมบอร์ดได้เริ่มขึ้น หัวหน้าทีมต่างๆ รวมไปถึง CEO ที่ชื่อ John Tuld ที่ซึ่งตัดสินใจว่าต้องขายสินทรัพย์ในพอร์ตทั้งหมดออกไปทันทีที่ตลาดเปิดวันรุ่งขึ้น Sam Rogers เถียงเรื่องความน่าเชื่อถือที่จะไม่เหลืออีกต่อไปหากทำอย่างนี้ ณ จุดนี้ บทเรียนข้อแรกและสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ได้ปรากฎขึ้น
1. วิถีแห่งความอยู่รอดในตลาดการเงิน
“จงเป็นคนแรก จงฉลาดกว่า หรือโกงไปเลย” เป็นบทเรียน 3 ข้อที่ตรงไปตรงมา ในการลงทุนหากคุณไม่ใช่คนแรกที่พบสิ่งดีๆที่ซ่อนอยู่ คุณต้องทำงานให้หนักกว่าเพื่อความสำเร็จ แต่ข้อสุดท้ายไม่ควรทำนะครับ มีอีกประโยคที่อยากนำมาฝาก “ถ้าคุณเป็นคนแรกที่หนีมันล่ะก็นั่นไม่เรียกว่าตื่นตูม”
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
มาถึงตรงนี้ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ารุ่งอรุณที่จะมาถึงจะเป็นเช้าแห่งหายนะของทุกคนที่ยังต้องใช้กระดาษที่เรียกว่า “เงิน” การขายแบบเทกระจาดจะเกิดขึ้น Eric Dale ก็ถูกตามตัวกลับมาเรียบร้อย
…และแล้วบทเรียนข้อที่สองได้เริ่มขึ้น
2. ล้มแล้วต้องเจ็บน้อยที่สุด
บทเรียนข้อนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการ Cut loss เมื่อ John Tuld พบแล้วว่าบริษัทตกอยู่ท่ามกลางหายนะ การรักษาเงินต้นให้มากที่สุด คือ Cut loss และยิ่งเป็นคนแรกที่เริ่มเกมส์แล้วด้วย ทำให้ได้เปรียบหลายอย่าง ฉะนั้นเมื่อพบว่าการลงทุนกำลังเข้าสู่หายนะ อย่าลังเลที่จะ Cut loss และยังมองหาโอกาสทำเงินจากช่วงวิกฤตอีกด้วย
รุ่งเช้ามาถึง การขายแบบเทกระจาดที่ทุกราคาตลาดเริ่มขึ้น และดำเนินไปทั้งวัน เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตซับไพร์มปี 2008 เย็นวันนั้นตลาดปิดลง สินทรัพย์ส่วนใหญ่ถูกเทขายออกไปแล้ว ถือเป็นผลงานระดับขึ้นหิ้งของ Sam Rogers เมื่อเสร็จงานนี้ เขาต้องการลาออกและไปคุยกับ CEO นำไปสู่สุนทรพจน์ที่มอบบทเรียนที่สาม
3. อย่าประมาท และพยายามปรับตัว
ฉากท้ายๆ ของเรื่องฉากนี้ Sam Rogers รู้สึกว่าสิ่งที่ทำไปส่งผลให้หลายคนหมดตัว แต่ John Tuld กล่าวว่าตลาดมันเป็นแบบนี้มาหลายสิบๆปีแล้ว ความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันคือมีผู้เล่นในตลาดมากขึ้น แต่สัดส่วนผู้ชนะกับผู้แพ้ยังคงเดิม หรือแม้กระทั่งวิกฤตที่เกิดขึ้นรอบแล้วรอบเล่ามันก็เป็นรูปแบบเดิมๆ ซึ่งไม่มีใครควบคุมได้ สิ่งที่ทำได้คือ เราต้องปรับตัวกับทุกสภาวะตลาด ฉะนั้นหากมองลึกๆ ในพอร์ตของธนาคารจะเห็นว่าทั้งพอร์ตมีการถือสินทรัพย์เดียวมากเกินไป สิ่งที่ควรทำจริงๆและทุกคนควรทำคือ จัดพอร์ตการลงทุน จัดสัดส่วนสินทรัพย์ มิใช่ลงทุนกับสิ่งๆเดียวมากเกินไป
สุดท้าย Sam Rogers ก็ไม่ได้ลาออก เพราะเขายังต้องการเงินเดือนอันมหาศาล พร้อมทั้งสวัสดิการชั้นยอดอยู่ดี เหตุการณ์นี้จำเป็นต้องมีแพะสักคน และก็ตกเป็นของ Sarah Robertson
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง ส่วน Eric Dale ถูกตามตัวกลับมานั่งเงียบๆแลกกับเงินชั่วโมงละ 176,471 เหรียญต่อชั่วโมง และสวัสดิการชั้นระดับพรีเมี่ยมที่จะยังอยู่ สิ่งที่น่าสนใจคือ ธนาคารจะไม่มีทางเป็นฝ่ายผิด จะมีสักคนต้องสวมบทแพะ การเก็บกวาดผู้รู้ เช่น Eric Dale จะเกิดขึ้นเพื่อจะได้มั่นใจว่าทุกอย่างจะดำเนินไปอย่างราบรื่น
ฉากสุดท้ายของ เรื่องคือ บทสรุป ที่ดีที่สุด ฉากที่ Sam Rogers ขุดหลุมฝัง สุนัขที่ตาย เปรียบเสมือนเขา ได้ขุดหลุมฝัง ความเป็น “มนุษย์” ไปแล้ว จากนั้นอดีตภรรยาของเขาบอกให้ดูแลตัวเองดีๆ คือเมื่อเข้ามาอยู่ในตลาด เท่ากับว่ายอมรับในความเสี่ยงและมันพร้อมจะเกิดทุกเมื่อ สิ่งที่ทำได้คือ ระวังและปรับตัว แม้ตลอดทั้งเรื่องจะดูหดหู่มากๆ แต่หากมองทางกลับกัน ในวิกฤตนั้นย่อมมีโอกาสเสมอเหมือนที่ภาพยนตร์เรื่อง The Big Short ได้นำเสนอแง่มุมของกลุ่มคนที่ปรับตัวทันและทำเงินไปกับวิกฤตได้ เราเองก็เช่นกัน ตั้งรับ จัดพอร์ต และปรับตัวเมื่อสถานการณ์เกิดขึ้นนะครับ